การกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้
โดยสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

บริษัท บลิส-เทล จำ?กัด (มหาชน) มีความเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่ประกอบไปด้วย ระบบการบริหารจัดการที่ดี การมีคณะกรรมการและผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีกลไกการควบคุมและการถ่วงดุลอำนาจเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างโปร่งใส่ตรวจสอบได้ การเคารพในสิทธิความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทในระยะยาว คณะกรรมการบริษัท จึงได้จัดให้มีนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ซึ่งนโยบายดังกล่าวให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายในการกำกับดูแลฝ่ายบริหารให้ดำเนินตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ระยะยาวของผู้ถือหุ้นภายใต้กรอบข้อกำหนดของกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ คณะกรรมการบริษัทได้ร่วมกันกำหนดแนวทางกำกับดูแลกิจการของบริษัท ตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม
หมวดที่ 3 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย
หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

1) หมวดสิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน) ตระหนักและให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกๆ ท่านให้อย่างเท่าเทียม เช่น บริษัทฯจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงความคืบหน้าจากการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอโดยจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบโดยตรงหรือผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์”) และบริษัทฯ จะถือปฏิบัติให้จัดส่งหนังสือนัดประชุมพร้อมทั้งข้อมูลประกอบการประชุมตามวาระต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าก่อนวันประชุม 7 วันซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและกำหนดให้มีการบันทึกการประชุมถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ทั้งนี้ ตามปกติ บริษัทฯ จะมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง โดยหากมีวาระที่สำคัญที่จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา บริษัทฯ จะดำเนินการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

การประชุมผู้ถือหุ้น

1. บริษัทฯมีนโยบายที่จะดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทฯ และแนวทางการประชุมผู้ถือหุ้นที่กำหนดโดยหน่วยงาน ทั้งนี้บริษัทฯ มีนโยบายเผยแพร่ข้อมูลการประชุมและเอกสารประกอบวาระการประชุมใน Website ของบริษัทฯ ให้ผู้ถือหุ้นทราบ
2. การประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งให้แต่งตั้งกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 คนเป็นผู้รับมอบอำนาจแทนผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าประชุมและแจ้งไว้ในหนังสือนัดประชุม
3. ในการประชุมผู้ถือหุ้นสมควรให้กรรมการบริษัททุกคนโดยเฉพาะประธานกรรมการบริษัท และประธานคณะกรรมการชุดย่อยเข้าร่วมประชุม เพื่อตอบคำถามต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นทุกคราวไป
4. ในการประชุม บริษัทฯ จะจัดสรรเวลาเพื่อเปิดโอกาสผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือตั้งคำถามในวาระต่างๆอย่างอิสระก่อนการลงมติในวาระใดๆ ทั้งนี้ในการประชุมผู้ถือหุ้นจะมีกรรมการและผู้บริหารเข้าร่วมประชุม เพื่อตอบคำถามในที่ประชุมรวมทั้งจะมีการบันทึกประเด็นซักถาม และข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นตรวจสอบได้

2) หมวดการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทฯ ตระหนักถึงหน้าที่ในการดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกๆรายตามสิทธิอย่างเป็นธรรม และมีนโยบายถือปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนน การรับทราบข้อมูลข่าวสารผลการดำเนินงานและนโยบายการบริการงานอย่างสม่ำเสมอ โดยในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ให้สิทธิผู้ถือหุ้นในการออกเสียงลงคะแนนแบบ 1 หุ้นต่อ 1 เสียง และการดำเนินการประชุมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ ตามลำดับวาระการประชุมมีการเสอนรายละเอียดในแต่ละวาระครบถ้วน รวมทั้งจะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง จึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมแทนได้โดยใช้หนังสือมอบฉันทะที่บริษัทฯ ได้จัดส่งพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม กรรมการลงคะแนนเสียงเป็นไปอย่างโปร่งใสตามลำดับวาระที่
กำหนดโดยวาระการเลือกตั้งกรรมการ จะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการด้วยการลงมติเป็นรายบุคคล

3) หมวดบทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงแรงสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างกำไรให้กับบริษัทฯ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาวชองบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้กำหนด นโยบายธรรมาภิบาลจรรยาบรรณ และข้อพึงปฏิบัติสำหรับพนักงาน และผู้บริหารให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อันจะก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ นอกจากนั้นยังมุ่งมั่น เป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้น ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ในระยะยาวด้วยผลตอบแทนที่ดี และต่อเนื่อง รวมทั้งการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้ อนึ่งบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มโดยมีรายละเอียด ดังนี้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืมตามข้อตกลง

  • ปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมเป็นธรรม และให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
  • การซื้อสินค้าและบริการจากคู่ค้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า รวมถึงการปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด และรอบคอบ
  • เอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าทั้งในด้านคุณภาพของผลิตกัณฑ์ที่ดีได้มาตรฐาน และการให้บริการหลังการขาย รักษาความลับของลูกค้า
  • ประพฤติตามกรอบกติกา การแข่งขันที่ดี หลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่แข่ง มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคม

4) หมวดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency)

บริษัทฯ มีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลและสารสนเทศอย่างถูกต้องครบถ้วนและทันเวลา เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สามารถรับทราบข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานฐานะทางการเงิน และข้อมูลอื่นๆ โดยผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ของบริษัทฯได้แก่ งบการเงิน รายงานประจำปี โดยบริษัทฯ จะได้มีการปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ให้เป็นปัจจุบันอย่างสมํ่าเสมอ คุณภาพของรายงานทางการเงินเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกให้ความสำคัญ คณะกรรมการบริษัทฯ จึงต้องมั่นใจว่า ข้อมูลที่แสดงในรายงานทางการเงินมีความถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไปและผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่เป็นอิสระและมีการกำหนดนโยบายการเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ (Disclosure Policy) ให้ชัดเจน เช่น จัดให้มีการทำคำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เพื่อประกอบการเปิดเผยงบการเงินทุกไตรมาสทั้งนี้ เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในแต่ละไตรมาสได้ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงินเพียงอย่างเดียว จัดส่งรายงานทางการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญต่อสาธารณชน ดังนี้

  • วัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
  • ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โครงสร้าง การถือหุ้น และสิทธิในการออกเลียง
  • รายซื่อกรรมการ อนุกรรมการชุดต่างๆ ประธาน กรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ และค่าตอบแทน
  • ปัจจัยและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการความเลี่ยง ที่สำคัญ และสามารถมองเห็นได้ ทั้งที่เกี่ยวกับการ ดำเนินงานและการเงิน (Material Foreseeable Risk Factors)
  • นโยบายและโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Structures and Policies) รวมทั้งความรับผิดชอบของคณะกรรมการในการรายงานทางการเงิน และรายงานของประธานคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นต้น
  • เปิดเผยในรายงานประจำปีเกี่ยวกับจำนวนครั้งที่กรรมการ และ/หรืออนุกรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประขุม โดยเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งของการประขุมคณะกรรมการ และ/หรือคณะอนุกรรมการในแต่ละปี
  • เปิดเผยข้อมูลตามที่กำหนดโดยกฎหมายหรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องโดยบริษัทฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ ผ่านซ่องทางต่างๆ ได้แก่ ระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ เว็บไซต์ของบริษัท (WWW. blissintelligence.co.th) และแบบแสดงรายการข้อมูล
    ประจำปี แบบ (56-1) เป็นต้น